ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวโปรแกรมก็คือลำดับของคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ สำหรับผังงาน(Flowchart) เป็นการใช้ภาพสัญลักษณ์ที่เป็นสากลและคำอธิบาย เพื่อแสดงอัลกอริทึมของการแก้ปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด ทำให้เห็นลำดับของกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรม ง่ายต่อการเข้าใจ และสามารถนำกลับมาดูได้ใหม่ภายหลัง ผังงานจึงเป็นเสมือนแผนที่นำทางเพื่อบ่งบอกลำดับของกิจกรรม และเป็นเสมือนแม่แบบที่จะชี้นำในการเขียนประโยคคำสั่ง ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์โดยไม่จำกัดว่าเป็นภาษาใด ประโยชน์ที่ได้จากผังงานสรุปได้ 3 ประการ คือ

  1. ใช้แสดงความคิดให้เห็นเป็นภาพลักษณ์ ช่วยให้เข้าใจลำดับและความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมที่ดูจากผังงานทำได้โดยสะดวก
  2. ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานความคิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับผู้เขียนโปรแกรม หรือระหว่างผู้เขียนโปรแกรมกับผู้ใช้ เป็นต้น ซึ่งการศึกษาโปรแกรมโดยดูจากผังงานจะเข้าใจได้ง่าย รวดเร็วกว่าการศึกษา จากโปรแกรม ทำให้ลดเวลาในการศึกษางานต่าง ๆ ให้น้อยลง
  3. ช่วยในการทดสอบหรือทบทวนขั้นตอนการทำงาน เพื่อหาข้อผิดพลาด (Error) ทั้งในขั้นทดสอบโปรแกรม และขั้นบำรุงรักษาโปรแกรมซึ่งต้องมีการแก้ไขปรับปรุง โปรแกรมภายหลัง เมื่อนำไปใช้งานแล้ว ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานตลอดเวลา

สัญลักษณ์ผังงาน ( Flowchart Symbols)

    สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนผังงาน เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานสากลเพื่อความสะดวกในการสื่อ ความหมายให้เข้าใจตรงกันและเป็นสากล กำหนดขึ้นโดย ANSI (The American National Standard Institute) ดังตารางต่อไปนี้

ภาพสัญลักษณ์

ความหมาย

Drawing1.wmf (542 bytes)

Processing

กระบวนการ การคำนวณ

Drawing3.wmf (694 bytes)

Auxliary Processing

กระบวนการที่นิยามไว้ การทำงานย่อย

Drawing4.wmf (562 bytes)

Subroutine Processing

ข้อมูล รับ หรือ แสดงข้อมูลโดยไม่ระบุชนิดของอุปกรณ์

Drawing6.wmf (562 bytes)

Decision Symbol

การตัดสินใจ การเปรียบเทียบ

Drawing7.wmf (578 bytes)

Preparation Symbol

การเตรียมการ การกำหนดค่าล่วงหน้า หรือ กำหนดค่าเป็นชุดตัวเลข
Drawing8.wmf (562 bytes)

Manual Input

ป้อนข้อมูลด้วยตนเอง การรับข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์
Drawing9.wmf (562 bytes)

Manual Control

ขั้นตอนที่ทำด้วยตนเอง การควบคุมโปรแกรมทางแป้นพิมพ์
Drawing10.wmf (730 bytes)

Document Output

เอกสาร/แสดงผล, การแสดงผลทางเครื่องพิมพ์
Drawing11.wmf (1590 bytes)

More Document

เอกสารแสดงผลหลายฉบับ
Drawing12.wmf (850 bytes)

Moniter

จอภาพแสดงผล
Drawing13.wmf (754 bytes)

Card

การ์ดหรือบัตรเจาะรู ใช้ใส่ข้อมูล
Drawing14.wmf (842 bytes)

Tape

เทป (สื่อบันทึกข้อม)
Drawing15.wmf (818 bytes)

Start/End Symbol

เริ่มต้น/สิ้นสุด การเริ่มต้นหรือการลงท้าย

Drawing16.wmf (802 bytes)

Connection Symbol

จุดเชื่อมต่อในหน้าเดียวกัน

Drawing17.wmf (550 bytes)

Connection Symbol

ตัวเชื่อมต่อไปหน้าอื่น

Drawing18.wmf (1022 bytes)

จุดร่วมการเชื่อมต่อ

Drawing19.wmf (1022 bytes)

หรือ

Drawing20.wmf (542 bytes)

ตรวจเทียบ

Drawing24.wmf (746 bytes)

หน่วงเวลา
Drawing25.wmf (1006 bytes) ที่เก็บแบบเข้าถึงโดยเรียงลำดับ
Drawing26.wmf (1554 bytes) ดิส์กแม่เหล็ก
Drawing28.wmf (1162 bytes) เส้นแสดงลำดับกิจกรรม
Drawing29.wmf (546 bytes) แสดงคำอธิบายหรือหมายเหต

ภาษาที่ใช้บรรยายในผังงาน

    การแสดงลำดับกิจกรรมประมวลผลตามอัลกอริทึมนั้น นอกจากจะใช้รูปสัญลักษณ์ผังงาน (Flowchart Symbols) เป็นเครื่องมือแสดงแล้ว ภายในรูปสัญลักษณ์นั้น ๆ ต้องมีคำบรรยายประกอบเพื่อสื่อความเข้าใจระหว่างผู้อ่านกับผู้ที่นำเสนออัลกอริทึมนั้น ภาษาที่ใช้จึงต้องเป็นภาษาที่สื่อความเข้าใจกับบุคคลทั่วไป เป็นภาษาที่ผู้อ่านทั่วไปสามารถเข้าใจถูกต้อง ไม่ผิดพลาด คำบรรยายในผังงานจึงนิยมใช้ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) นั่นคือภาษาที่คนทั่วไปใช้สื่อความหมายในชีวิตประจำวันเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น ต้องไม่เอาภาษาคอมพิวเตอร์มาใช้หรือมาปะปน เพราะจะทำให้เกิดความสับสน ไม่สามารถสื่อความเข้าใจกับผู้อ่านที่ยังไม่รู้ภาษาคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ผังงานที่ได้ก็จะเป็นอัลกอริทึมแม่แบบที่ผู้เขียนโปรแกรมจะนำไปเขียนประโยคคำสั่งตามกิจกรรมของขั้นนั้น ๆ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง นั่นคือผังงานทั้งหมดจะถูกเขียนให้เป็นประโยคคำสั่ง ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้เขียนโปรแกรมเลือกมาใช้ เช่น ภาษา Pascal หรือภาษา C เป็นต้น โปรแกรมที่ได้นี้ก็คือ อัลกอริทึมที่เขียนด้วยภาษา Pascal หรือภาษา C นั่นเอง โดยทั่วไปจะเรียกว่า รหัสคำสั่ง หรือ Source Code

 

ศึกษาเนื้อหาโดยละเอียดได้จากหนังสือเสริม ....