ความสัมพันธ์ทางตรรกะแบบเรียงลำดับ (Sequential Connection)

    กิจกรรมจะเรียงลำดับโดยยึดหลักจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา หรือตามทิศทางของเส้นลูกศร ดังรูป

แสดงความสัมพันธ์แบบเรียงลำดับ

 

ความสัมพันธ์ทางตรรกะแบบมีเงื่อนไขทางเลือก (Selection Connection)

  1. Single Selection (if... Structure) จะตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง (true) ก็จะไปทำกิจกรรมแล้วออก จากโครงสร้าง ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ (false) ก็จะออกจากโครงสร้างเลย ดังรูป

แสดงโครงสร้าง if... Structure

  1. Double Selection ( if / else... Structure) จะตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะไปทำกิจกรรม 1 แล้วออกจากโครงสร้าง แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะไปทำกิจกรรม 2 แล้วจึงออกจากโครงสร้างดังรูป แสดงโครงสร้าง if / else… Structure

แสดงโครงสร้าง   if / else... Structure

1.gif (16283 bytes)

  1. Multi-selection มี 2 แบบ ตามลักษณะโครงสร้างคำสั่ง ดังนี้

แสดงโครงสร้าง   if / else   if / else... Structure

ผังงานแบบ Case หรือ Switch ที่รวมสัญลักษณ์เงื่อนไข

1.gif (26723 bytes)

ความสัมพันธ์ทางตรรกะแบบทำซ้ำ (Repetition)

    การทำซ้ำคือการวนเป็นรอบ ๆ โดยทำกิจกรรมเดิมซ้ำอีก อาจเรียกว่าการวนลูบ (Loop) ซึ่งมีโครงสร้างการควบคุมหลายรูปแบบดังนี้

  1. while...Structure ลักษณะโครงสร้างการควบคุมจะตรวจสอบเงื่อนไขสิ้นสุด การวนซ้ำก่อน ถ้าผลการตรวจสอบยังไม่สิ้นสุดก็ทำกิจกรรมนั้นซ้ำต่อไป ดังรูป แสดงโครงสร้าง while… Structure ข้างล่างนี้

โครงสร้าง While... Structure

1.gif (7165 bytes)

  1. do / while...Structure และ repeat / until...Structure ลักษณะ โครงสร้างการควบคุม จะกระทำกิจกรรมครั้งแรก 1 ครั้งก่อนเสมอ แล้วจึงตรวจสอบ เงื่อนไขการสิ้นสุดการวนซ้ำ ถ้าผลการตรวจสอบยังไม่สิ้นสุดก็จะกลับไปทำกิจกรรมเดิมซ้ำอีก ดังรูปที่ 1 โครงสร้างนี้จะคล้ายกับโครงสร้าง repeat / until... ในรูปที่ 2 ซึ่งต่างกันตรงทางออก ของผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงหรือเป็นเท็จจะตรงข้ามกัน

รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างแบบ do / while...Structure

รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างแบบ Repeat / Until... Structure

1.gif (4549 bytes)

2.gif (4544 bytes)

  1. for... Structure ลักษณะโครงสร้างการควบคุมเป็นการวนซ้ำที่รู้จำนวนรอบแน่นอน โดยมีการกำหนดค่าเริ่มต้นของตัวแปรนับรอบ    เงื่อนไขการ ตรวจสอบการสิ้นสุดการวนซ้ำ และกำหนดค่าการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบ การวนช้ำชนิด for... Structure นี้ สามารถเขียนผังงานได้ 2 แบบ คือ การเขียนโดยแยกกิจกรรมส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการวนซ้ำแบบแยกกระจาย และการเขียนผังงานโดยรวมการบรรยายกิจกรรมควบคุมการทำงานวนซ้ำทั้งหมด ไว้ในสัญลักษณ์เตรียมการ (Preparation Symbol) เพียงรูปเดียว ดังรูปข้างล่างนี้

แสดงโครงสร้าง for... Structure แบบรวมตรรกะส่วนควบคุมในสัญลักษณ์เตรีมการ 3 ตรรกะ

โครงสร้างแบบโมดุล (Module Structure)

    โมดุล จะรวมโครงสร้างของแมคโคร ตั้งแต่โครงสร้างเดียวหรือหลาย ๆ โครงสร้างเข้าด้วยกันเป็นอัลกอริทึมแก้ปัญหาตามสิ่งที่พึงประสงค์ เมื่อมองอัลกอริทึมแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นกระบวนวิธีการ (Procedure) หนึ่ง นั่นคือโครงสร้างแมคโครชุด ดังกล่าวในผังงานนั้น ก็คือโมดุลโมดุลหนึ่งหรือเป็น Procedure หนึ่ง เมื่อเขียนเป็นคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ ในงานขนาดใหญ่ ๆ จะถูกแบ่งย่อยตามหน้าที่ออกเป็นหลาย ๆ โมดุล นั่นคือในโปรแกรมก็จะประกอบด้วย Procedure ต่าง ๆ หลาย Procedure นั่นเอง

ประโยคคำสั่งในโปรแกรม

    โปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเขียนโปรแกรมด้วยภาษาใดก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงประโยคคำสั่งต่าง ๆ โดยลักษณะหน้าที่ จะแบ่งได้เป็น 5 ประเภทดังนี้คือ

  1. ประโยคกำหนดค่าตัวแปร (Assignment Statement)
  2. ประโยคอ่านข้อมูลเข้าเครื่อง และประโยคแสดงผลลัพธ์ (Input/Output Statement)
  3. ประโยคคำนวณ (Computing Statement)
  4. ประโยคควบคุมการทำงานของโปรแกรม (Program Control Statement)
  5. ประโยคจบ (End Statement)

 

ศึกษาเนื้อหาโดยละเอียดได้จากหนังสือเสริม ....