การเขียนโปรแกรมแบบแยกโมดุล

    จุดเริ่มต้นของการเขียนโปรแกรมแบบแยกเป็นโมดุล (Modular Algorithm) หรืออาจเรียกว่าแยกเป็นฟังก์ชันก็ คือ ความคิดที่ยึดมั่นในหลักการที่ว่าจะแยกย่อยงานใหญ่ออกเป็นหน่วยย่อย ๆ ตามหน้าที่หรือฟังก์ชัน (function) ซึ่งถือว่าเป็นการเขียนโปรแกรมที่ดี มีระบบ และเป็นแบบโครงสร้าง อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาด้านซอฟต์แวร์สนับสนุนการทำงานเป็นทีม และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายหน้าจะกระทำได้ง่าย ประหยัด ลดผลกระทบกับส่วนข้างเคียง

    เมื่อเริ่มต้นที่แนวคิดดังกล่าว การวิเคราะห์ปัญหาซึ่งเป็นขั้นแรกของการพัฒนาโปรแกรมก็จะดำเนินการไปตามแนวคิดดังกล่าวนี้ ถึงแม้ว่าปัญหานั้น ๆ จะเป็นปัญหาเล็ก ๆ หรือมีกิจกรรมประมวลผลสั้นเพียงใดก็ตาม ก็สามารถแยกกิจกรรมเหล่านั้นได้เป็นกิจกรรมพื้นฐาน 3 หน่วยย่อย นั่นคือ หน่วยย่อยทำหน้าที่อ่านข้อมูล (Input module) หน่วยย่อยทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล (Processing module) และหน่วยย่อยทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ (Output module) นั่นคือ ลำดับของงานจะเป็นดังรูป

    ดังนั้นโปรแกรมที่เขียนเพื่อแก้ปัญหางานขนาดเล็ก สามารถเขียนเป็นโปรแกรมโครงสร้างได้ โดยแยกเป็นโมดุลย่อย 3 โมดุล นั่นคือ

  1. โมดุลย่อยที่ทำหน้าที่อ่านข้อมูลเข้าเครื่อง
  2. โมดุลย่อยทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล
  3. โมดุลย่อยทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์

    สำหรับปัญหาขนาดใหญ่ที่มีกิจกรรมจำนวนมาก เมื่อวิเคราะห์กันแล้วก็จะพบว่าบรรดากิจกรรมจำนวนมากเหล่านั้น แท้ที่จริงก็มาจากกิจกรรมพื้นฐาน 3 หน่วยย่อยดังกล่าวนั่นเอง นั่นคือ หน่วยย่อยที่ทำหน้าที่อ่านข้อมูลอาจจะแยกได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งการอ่านข้อมูลออกเป็นหลายขั้นตอน หรือมีหลายรูปแบบตามลักษณะรูปแบบข้อมูลเป็นต้น ส่วนหน่วยย่อยประมวลผลก็อาจจะประมวลผลหลายรูปแบบหลายขั้นตอนหลายลักษณะตามชนิดข้อมูล และหน่วยย่อยแสดงผลลัพธ์ก็เช่นกัน อาจจะแสดงผลหลายรูปแบบหลายลักษณะหรือหลายขั้นตอน เป็นต้น โปรแกรมขนาดใหญ่จึงประกอบไปด้วยโมดุลย่อยจำนวนมากที่แบ่งไปตามหน้าที่หรือฟังก์ชัน (Function) ต่าง ๆ ของงาน ซึ่งฟังก์ชันต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะอยู่ในกลุ่มหน้าที่พื้นฐาน 3 ส่วนดังกล่าวข้างต้น

ผังงานแสดงหน่วยย่อยพื้นฐาน

    ข้อดีของการเขียนโปรแกรมแบบแยกโมดุลนี้ก็คือ โมดุลบางโมดุลที่ต้องการใช้บ่อยหรือใช้เป็นประจำเราไม่ต้องเขียนโมดุลนั้นซ้ำใหม่อีก สามารถเรียกใช้ซ้ำได้อย่างไม่มีขีดจำกัดและเก็บไว้ใช้กับโปรแกรมอื่น ๆ ได้ต่อไป รูปแบบการพัฒนาโปรแกรมในแนวคิดแบ่งย่อยเป็นโมดุลนี้จึงเหมาะกับนำมาพัฒนาโปรแกรม จัดเป็นวิธีมาตรฐานวิธีหนึ่งที่เรียกว่าเป็นแบบ FOP (Function Oriented Programming)

แสดงผังงาน เมื่อแยกเป็นโมดุล

แสดงโปรแกรมเมื่อเขียนแยกเป็นโมดุลย่อย

 

ศึกษาเนื้อหาโดยละเอียดได้จากหนังสือเสริม ....